top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนKratay Sagaoduen

กฎหมายธุรกิจ

ในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการดำเนินธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ และไม่ว่าจะดำเนินธุรกิจในกลุ่มประเภทกิจการ หรือในกลุ่มอุตสาหกรรมใด ก่อนเริ่มต้นธุรกิจ ผู้ประกอบการควรศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจ เพื่อให้กิจการถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีปัญหาในภายหลัง


 

กฎหมายธุรกิจคืออะไร


      กฎหมายธุรกิจ คือ กฎหมายที่ควบคุมการดำเนินธุรกิจ การค้า กิจการพาณิชย์ต่างๆ โดยจะเริ่มตั้งแต่การเริ่มจัดตั้งองค์กรธุรกิจ ความแตกต่างระหว่างประเภทองค์กรธุรกิจ สิทธิและหน้าที่ของบุคคลต่างๆ ในองค์กร การจัดการองค์กรธุรกิจ การบริหาร การประกอบกิจการ กฎหมายควบคุมในกิจการบางอย่างเป็นการเฉพาะ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ในทุกๆ กิจกรรมการค้าขายจะมีกฎหมายในประเทศ และกฎหมายต่างประเทศวางกฎเกณฑ์ไว้อย่างครบถ้วนแล้ว ถ้าเราไม่ทำตาม จะก่อให้เกิดความเสียหายกับองค์กรและธุรกิจของเราได้


   องค์กรธุรกิจ  คือ การรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมบางอย่าง เพื่อจุดประสงค์ในการแสวงหากำไร ซึ่งสามารถจำแนกเบื้องต้น ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชน


       1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ เป็นการทำกิจการค้าขายหรือบริการแบบง่ายๆ ไม่ต้องไปจดทะเบียนต่อราชการ สามารถเริ่มต้นได้ทั่วไป เช่น ร้านอาหารตามสั่ง ร้านขายของตามตลาดนัด ร้านตัดผม เป็นต้น โดยเริ่มจากคน 2 คนขึ้นไปร่วมตกลงปลงใจ ทำกิจการขึ้นมาด้วยกัน เพื่อหากำไรแล้วมาแบ่งกัน โดยจะลงทุนร่วมกันจะเป็นการ ลงแรง ลงทรัพย์สิน หรือลงเงินก็ได้

           ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ความรับผิด สิทธิหน้าที่ของหุ้นส่วนแต่ละคนก็จะพอๆ เรียกได้ว่าร่วมสุขร่วมทุกข์กัน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการได้ และถ้ากิจการมีภาระหรือหนี้สินเท่าไร หุ้นส่วนทุกคนก็ต้องร่วมกันรับผิดด้วยกันทุกคน


      2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มีการจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่และมีการกำหนดรายละเอียดหรือกรอบความรับผิดเอาไว้ว่า โดยจะมีกรรมการ 2 รูปแบบ คือแบบจำกัดความรับผิด และแบบไม่จำกัดความรับผิด แบบจำกัดความรับผิดคือต่อให้กิจการเป็นหนี้มากขนาดไหนหุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิดนี้ก็จะรับผิดเพียงตามจำกัดที่จำกัดการรับผิดไว้เท่านั้น เมื่อความรับผิดไม่เท่ากันแบบนี้ กฎหมายจึงให้อำนาจในการบริหารห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นของ กรรมหรือหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น


     3. บริษัท จำกัด คือ การจดทะเบียนธุรกิจที่เป็นที่นิยมของผู้เริ่มต้นธุรกิจขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ โดยเริ่มจัดตั้งบริษัทฯ ต้องมีคน 3 คนขึ้นไป ร่วมลงเงินลงทุนด้วยกันและไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งหุ้นส่วนทุกคนจะจำกัดการรับผิดเท่าเงินหุ้นที่ลงทุนไปเท่านั้น การบริหารงานก็จะเป็นหน้าที่ของกรรมการ ซึ่งกรรมการอาจถูกผู้ถือหุ้นไล่ออกเมื่อไหร่ก็ได้


     4. บริษัท มหาชน จำกัด คือ บริษัทที่นำหุ้นเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ (เป็นธุรกิจขนาดใหญ่) โดยจะมีกฎหมายเฉพาะมากำกับดูแลทั้งในเรื่องการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ การจัดทำบัญชี การดำเนินกิจการ และเรื่องของหุ้นไว้โดยเฉพาะ


      ในการดำเนินธุรกิจจะมีหลักกฎหมายที่สำคัญเกี่ยวข้องแบ่งเป็น 2 เรื่อง คือ เรื่องภายในองค์กร และเรื่องภายนอกองค์กร


     1. เรื่องภายในองค์กร เช่น อำนาจหน้าที่บริหารจัดการภายในองค์กร การเปลี่ยนแปลงโครงการองค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างหุ้นส่วน การจัดการประชุมต่างๆ การปรับเปลี่ยนหุ้นส่วนผู้ถือหุ้น การปรับเปลี่ยนคณะกรรมการบริหาร อำนาจหน้าที่ในการเบิกเงินออกจากบัญชี เป็นต้น ซึ่งจะมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำกับดูแลในส่วนนี้ ทั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และบริษัทจำกัด ส่วนบริษัทมหาชนจะมีกฎหมายกำกับไว้โดยเฉพาะ

        หากว่ามีการเปลี่ยนแปลงภายในบริษัทเราจำเป็นต้องไปจดทะเบียนแจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยในหลายกรณี เช่น การจดทะเบียนเพิ่มทุน การจดทะเบียนลดทุน การถอนถอดและเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจ การปรับเปลี่ยนอำนาจกรรมการ ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทเป็นหน่วยธุรกิจที่มีเรื่องทางทะเบียนมากำกับดูแลและจะต้องเปิดเผยข้อมูลให้คนทั่วไปตรวจสอบได้


    2. เรื่องภายนอกองค์กร เป็นกรณีที่หน่วยธุรกิจได้มีปฏิสัมพันธ์หรือนิติกรรมกับคนภายนอก เช่น ลูกค้า คู่ค้า หรือหน่วยงานราชการ เป็นต้น ในส่วนที่เกี่ยวกับลูกค้ากับคู่ค้า มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นหลักการเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง สัญญาเช่าซื้อ, การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์, กิจการขนส่ง แต่ทั้งนี้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ระบุไว้เพียงหลักการเท่านั้น ในการทำธุรกิจหรือกิจการขึ้นมาจริงๆ ทุกธุรกิจจะมีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญและทำความเข้าใจเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวง


ปรึกษากฎหมายธุรกิจ โทร 0629945566

ทนายโจ้ สำนักงานกฎหมาย ดับเบิ้ลยู.เอส ลอว์เฟิร์ม

 



ดู 6 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page